นมวัว ส่วนมากแหล่งผลิตและเลี้ยงวัวนมจะอยู่แถวๆสระบุรีเลยขึ้นไปจนถึงเขาใหญ่ สาเหตุที่ต้องเลี้ยงแถบนั้นเป็นเพราะว่าสภาวะอากาศใกล้เคียงกับต่างประเทศที่เรานำเข้า วัว มาเลี้ยงนั่นเอง วัวที่เรานำมาเลี้ยงเพื่อผลิตนมนั้น จะต้องผ่านการปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อให้เหมาะกับสภาวะอากาศบ้านเราให้ได้มากที่สุด จึงต้องมีการผสมกับวัวพื้นเมือง เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ ลองคิดตามนะครับว่า นม ที่ได้มาจะมีคุณภาพเทียบเคียงกับวัวที่เลี้ยงในต่างประเทศได้หรือเปล่า ตอบได้เลยยากมาก ทั้งเรื่องอาหารการเลี้ยงดูล้วนมีผลต่อคุณภาพของนมที่ออกมาทั้งสิ้น ยังไม่นับเรื่องแมลงเหลือบ ลิ้น ไร ที่มาคอยรบกวนจนทำให้วัว ต้องนอนแช่อยู่ใน ปลัก เพื่อเอามาเคลือบตัวเองเพราะแมลงพวกนี้สามารถทำให้วัวป่วยได้เปรียบเทียบง่ายๆเหมือนสุนัขที่เราเลี้ยงเป็นพยาธิหัวใจจากการที่โดนยุงกัดนั่นแหละ
ประเด็นต่อมาคือเรื่องคุณสมบัติหรือประโยชน์ที่เราได้จากนมไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม ไขมัน โปรตีน ที่ทางรัฐบาลนำมาเป็นจุดขายเพื่อให้เกษตรกรที่สนใจหันมาเลี้ยงเพิ่มขึ้น ภาคเอกชน บริษัทขนาดใหญ่ก็ถูกดึงเข้ามาเพื่อทำให้เกิดการผลิตที่มีจำนวนมากขึ้น จึงเกิดการใช้เครื่องจักรสำหรับการผลิตมากมายไม่ว่าจะเป็นเครื่องรีดนม เครื่องพาสเจอร์ไรซ์ สเตอรีไลส์ พอเข้าระบบธุรกิจ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือทำอย่างไรที่จะทำให้นมที่ได้มาเกิดประโยชน์สูงสุดทำกำไรได้มากที่สุด จึงทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่ทำมาจากนมเพิ่มขึ้น เช่น โยเกริต นมเปรี้ยว ชีส เวย์โปรตีน เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ต่างๆเหล่านี้ จะไม่สามารถผลิตได้เลยถ้า นม ที่ได้มามีคุณภาพไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีการค้นคว้าหาวิธีการทำอย่างไรให้สามารถเพิ่มคุณภาพของ นม ได้โดยไม่ต้องลงทุนมาก จึงเกิดการนำเข้า นมผง จากต่างประเทศมาผสมกับนมที่ผลิตในประเทศ เพื่อเพิ่มประมาณคุณสมบัติต่างให้ใกล้เคียงและสามารถผลิตเป็นสินค้าออกมาได้ สาเหตุที่ต้องนำเข้ามาเป็น นมผง เพราะสะดวกง่ายในการขนส่ง และมีอายุในการจัดเก็บที่นาน ช่วงแรกๆรัฐบาลยังปล่อยให้มีการนำเข้า นมผงอย่างเสรี ภาคธุรกิจก็เริ่มไม่สนใจนมที่ผลิตในประเทศเพราะมีต้นทุนที่สูงกว่าการนำเข้าประกอบกับคุณภาพดีกว่าด้วย ทำให้เกษตรกรเริ่มมีปัญหา เพราะรีดนมมาแล้วขายไม่ได้ ถูกกดราคา ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ในการเลี้ยง บางรายทนไม่ไหวเลิกเลี้ยงก็มี รัฐบาลเลยต้องเข้ามาจัดการ โดยการเพิ่มภาษีการนำเข้า และจำกัดโควต้าการนำเข้า และ บังคับภาคธุรกิจทุกรายที่นำเข้าจะต้องซื้อนมที่ผลิตในประเทศตามสัดส่วนที่นำเข้าหากไม่ปฎิบัติตามก็จะยกเลิกสิทธิในการนำเข้า ประการต่อมารัฐบาลส่งเสริมให้มี นมโรงเรียน เกิดขึ้นเพื่อรองรับกับปริมาณนมที่เกษตรกรเลี้ยงและเป็นการรับประกันว่าสามารถขายนมได้แน่นอน รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของคุณภาพนมมาบังคับใช้ เพื่อให้ได้นมที่มีคุณภาพเหมือนกันทั้งประเทศ
ทางฝั่งผู้ประกอบการเองหลังจากเจอมาตรการทางรัฐบาลก็มีข้อร้องเรียนเกิดขึ้นมากมายเนื่องจากตัวเองเสียผลประโยชน์ เพราะทราบดีอยู่แล้วว่านมที่ผลิตในประเทศมีคุณภาพไม่ได้ตามมาตรฐานที่ทางรัฐบาลกำหนด ทางรัฐบาลก็เลยต้องยอมแก้ไขให้มีการเติมเสริมแต่ง ไม่ว่าจะเป็น นมผง หรือสารสังเคราะห์ เช่น แคลเซียม วิตามิน เข้ามาในนมที่ผลิตเพื่อที่จะสามารถผ่านตามมาตาฐานที่ตั้งไว้ได้ ผลที่ออกมาคือ นม ที่เราทานอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น นมสดแท้100% นมที่มีแคลเซียมสูง นมที่มีวิตามินสูง ล้วนแล้วแต่เกิดจากการเติมเสริมแต่งทั้งสิ้น ไม่ได้มาจากนมสดแท้ธรรมชาติเลย
จากสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดทำให้อยากรู้ว่าหากต้องการนมที่เหมาะกับคนเอเชียจริงๆ เราสามารถหาได้จากที่ไหน จนกระทั่งมาเจอ นมควาย เลยลองศึกษาดูว่าประโยชน์และคุณสมบัติเมื่อเทียบกับนมวัวแล้วมีข้อแตกต่างกันขนาดไหน ผลปรากฎว่า คุณสมบัติดีกว่า นมวัว ที่เรานำเข้ามาเลี้ยงเกือบทุกอย่าง จึงหาข้อมูลเพิ่มว่ามีที่ไหนที่บริโภคนมควายบ้าง ในแถบนี้ พบว่า คนอินเดีย บริโภคนมควายกันมากเป็นอันดับต้นๆของโลก ควาย ที่เราเลี้ยงกันอยู่ในบ้านเรา เรียกว่าควายปลัก แต่ควายที่เลี้ยงในแถบ อินเดีย ปากีสถาน นั้นเรียกว่า ควายแม่น้ำ ฟาร์มขนาดใหญ่ในบ้านเราที่ทำนมควายนั้นใช้ ควายแม่น้ำ นำเข้ามาเลี้ยงแต่เนื่องจากนมควายยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ประกอบการดูแลจัดการยังไม่สม่ำเสมอทำให้ผลผลิตที่ออกมาคุณภาพยังไม่นิ่ง จนกระทั่งได้มาพบกับเกษตกรท่านหนึ่ง ที่เขาเริ่มผลิตนมควายเหมือนกันแต่เขาใช้ ควายปลัก ตามที่เราเห็นแพร่หลายตามต่างจังหวัดนี่แหละครับ มาทำนมควาย แต่สิ่งที่แตกต่างจากการเลี้ยงโดยทั้วๆไปก็คือ เกษตรกรท่านนี้เลี้ยงควายแบบฟาร์มปิด คือมีการกั้นคอก ติดมุ้งกันแมลง ติดสเปรย์พ่นน้ำเพื่อระบายความร้อน จากการเลี้ยงแบบนี้ทำให้ควายที่ฟาร์มนี้มีขนาดใหญ่กว่าควายที่เลี้ยงแบบปล่อยมาก ตัวพ่อพันธุ์ น้ำหนักประมาณ 1,100 – 1,300 กิโลกรัมต่อตัว ส่วนแม่พันธุ์ น้ำหนักประมาณ 700 – 800 กิโลกรัม
จากประสบการณ์ในการเลี้ยงควาย เกษตรกรท่านนี้อธิบายให้ฟังว่า การที่ควายบ้านเราดูสกปรกมีแต่ขี้โคลน เพราะว่าเขาร้อนเลยต้องไปแช่น้ำและเอาโคลนมาเคลือบป้องกันแมลง แต่เลี้ยงแบบแกเลี้ยงเนี่ย ควาย สบายมีสเปรย์พ่นน้ำ ทุกๆชั่วโมง เพื่อลดความร้อน อยู่ในมุ้ง ไม่มีแมลงมารบกวน ทำให้ตัวควายไม่สกปรก และไม่มีกลิ่นสาบ เวลาจะรีดนม พนักงานจะอาบน้ำก่อนแล้วค่อยรีด และประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ต่างจากการเลี้ยงวัวนมอย่างสิ้นเชิงคือ เขาจะปล่อยให้แม่ควาย ให้นมลูกควายจนอิ่มก่อนแล้วสังเกตุว่าถ้าเต้านมยังเต่งตึงอยู่รึเปล่า จึงค่อยรีดนมควายออกมา และรีดด้วยมือ เท่านั้น สาเหตุที่รีดด้วยมือ เกษตรกรท่านนี้อธิบายว่า การรีดด้วยมือนั้น ทำให้เต้านมของควายไม่ระบมมาก และ ทำความสะอาดอุปกรณ์ได้ง่าย เพราะมีไม่กี่ชิ้น แต่ถ้ารีดด้วยเครื่องควายจะเจ็บจนสังเกตุเห็นน้ำตาได้เลย การทำความสะอาดเครื่องก็ทำได้ยากอาจมีการตกค้างถ้าล้างไม่ดี หรือ ใช้น้ำยาไม่เข้มข้นพอ ประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าต่างจาก วัวนม เยอะมากเพราะวัวนมเข้าเครื่องรีดอย่างเดียว และปล่อยให้ลูกวัวดูดนมจากเต้าแค่ไม่กี่เดือนเพื่อเป็นการกระตุ้นเต้านมเพื่อให้พร้อมกับการรีด หลังจากนั้นก็แยกลูกออกไปให้เป็นนมผงแทน แต่ควายของฟาร์มนี้เขาจะให้ลูกดูดนมจากแม่จนกระทั่งอย่านม และพร้อมที่จะตั้งท้องใหม่ เพราะฉะนั้นเราจะมเจอเรื่องเต้านมอักเสบจากควายที่ฟาร์มนี้เลยครับ และ ควายก็ไม่เครียดน้ำนมที่ได้ก็มีคุณภาพ ลูกควายที่เติบโตก็มีคุณภาพได้สารอาหารที่เต็มที่ เติบโตเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป
ข้างล่างนี้คือผลการตรวจคุณภาพของน้ำนมควาย เมื่อเทียบมาตรฐานกับนมวัว จะเห็นได้ว่ามีค่าที่ดีกว่านมวัวมากอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ขออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าแต่ละค่าที่น่าสนใจดังนี้ครับ ปกติ ค่าที่เราดูคุณภาพน้ำนมเราจะดูที่
1.โปรตีน (protein) โดยปกตินมวัวทั่วๆไปค่ามาตรฐาน คือมากกว่า 3 แต่อันนี้นมควาย มีโปรตีนเป็น 2 เท่าคือสูงถึง 6.16%
2.ไขมัน (fat) ค่ามาตรฐานในนมวัว คือ ประมาณ 3 กว่าๆ แต่นมควายที่นี่ มีไขมันอยู่ในนมถึง 12.03% เป็นไขมันดี
3.ปริมาณของแข็งในน้ำนม TS (total solid) นมวัวทั่วไป ถ้าตามข้อกำหนดนมโรงเรียนตอนนี้คือ 12.25 แต่ในนมควายนี่มี TS สูงถึง 23.59 หรืออีกนัยหนึ่งคือความเข้มข้นของนมควาย
4.SCC คือ somatic cell count อันนี้จะเป็นพวกเม็ดเลือดขาว ซึ่งหากมีปริมาณมาก จะแสดงถึงการเกิดเต้านมอักเสบ เกณฑ์ทั่วไปในนมวัวที่รับได้คือน้อยกว่า 500*1000 cell แต่ในนมควายคือมีปริมาณน้อยมากๆ เพียง 76*1000 cell เท่านั้นเอง
สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอเน้นย้ำถึงผู้อ่านหรือผู้บริโภคทุกท่านว่าไม่ได้มีเจตนาโจมตีผู้ผลิตรายใด เพียงแต่ต้องการนำเสนอทางเลือกเพื่อให้คนที่รักสุขภาพ หรือผู้คนที่เราห่วงใยดูแลได้รับในสิ่งที่ดีๆเช่นกัน ขอขอบคุณ เพจอ๋อซียู และคณะลูกศิษย์ คณะทำงานที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ช่วยกันเผยแพร่แนะนำสิ่งดีๆ ให้กับทุกคน
แหล่งอ้างอิง https://arpo4.bentoweb.com/th/blog/7898/blog-7898
แหล่งอ้างอิง https://arpo4.bentoweb.com/th/blog/7898/blog-7898
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น